เมนู

อุทายิวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถาโพธนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในโพธนสูตรที่ 1 แห่งอุทายิวรรคที่ 3
บทว่า กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต โพชฺณงฺคาติ วุจฺจนฺติ ความว่า
ภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ชื่อว่า องค์อันเป็น
ความตรัสรู้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล. บทว่า โพธาย สํวตฺตนฺติ
ได้แก่ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวโพชฌงค์คลุกเคล้า
กันไป.
จบโพธนสูตรที่ 1

2. เทสนาสูตร



โพชฌงค์ 7


[437] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ 7 แก่เธอทั้ง-
หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. ก็โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน. คือสติสัมโพชฌงค์
ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล.
จบเทสนาสูตรที่ 2

อรรถกถาเทสนาสูตร


การกําหนดธรรม ท่านกล่าวไว้ในเทสนาสูตรที่ 2.

3. ฐานิยสูตร



นิวรณ์ 5 เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์


[438] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการ
มากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ.
[439] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งพยาบาท.
[440] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่
ตั้งแห่งถีนมินธะ.
[441] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอัน
เป็นที่ตั้งแห่งอุทธจัจกุกกุจจะ.